พ.ญ.เพ็ญแข ชนะวงศ์    %E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%87%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%B4%20%E0%B9%82%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%81%20%E2%80%9C%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%20%E0%B9%93%20%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E2%80%9D

พิธีเก็บอัฐิ โบราณเรียก “พิธี ๓ หาบ” วันพฤหัสบดีที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๒ เวลา ๐๖.๐๐ น. พิธีเก็บอัฐิ โบราณเรียก “พิธี ๓ หาบ” คือ หาบของนุ่ง (สบงจีวร) หาบของกิน(คาวหวาน ถวายพระ) หาบของใช้ (เตา หม้อ ถ้วยชาม เป็นต้น) ญาติพี่น้องช่วยกันหาบเดินเวียนเมรุ ๓ รอบก่อนเก็บอัฐิ เรียกว่า “พิธีเดิน ๓ หาบ” เวลา ๐๖.๓๐ น. เจ้าภาพทำพิธีการดังต่อไปนี้ - จุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยสักการะอัฐิ - โปรยดอกมะลิ เหรียญเงินเหรียญทอง ลงบนอัฐิ - พรมน้ำหอมลงบนอัฐิ - ทอดผ้าบังสุกุล (วางผ้าบนอัฐิด้านที่สมมติเป็นศีรษะ)พระสงฆ์ชักผ้า (บังสุกุล ตาย) แล้วกลับหัวกลับท้ายอัฐิ - ทอดผ้าบังสุกุล(ใช้ผ้าผืนเดิม) พระสงฆ์ชักผ้าบังสุกุล(บังสุกุลเป็น) - เลือกเก็บอัฐิส่วนที่สำคัญลงในโกศ - ห่ออัฐิและอังคาร(เถ้าถ่านของศพที่เผาแล้ว) ส่วนที่เหลือแล้วบรรจุลงในลุ้งหรือห่อผ้าขาวมัดปาก - ยกโกศและลุ้งไปตั้งบนศาลา(ที่พระสงฆ์ ๓ รูป นั่งรออยู่) - ประเคนปิ่นโต และไทยธรรมแด่พระสงฆ์ พระสงฆ์อนุโมทนา - กรวดน้ำ รับพร - นำโกศอัฐิไปเก็บไว้ที่บ้านหรือนำไปบรรจุต่อไป เวลา ๐๗.๓๐ น. พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ (ทำบุญตักบาตร) ถวายภัตตาหารเช้าพระภิกษุสงฆ์ จำนวน ๑๐ รูป เวลา ๐๘.๐๐ น. ญาติ แขกร่วมรับประทานอาหาร เสร็จพิธี