ข้อมูลวิทยาลัย    ประวัติ

ประวัติและความเป็นมาของวิทยาลัย       (สมารถให้AI ช่วยอ่านให้ฟังได้)

ด้วยความคิดและปณิธานของ ศาสตราจารย์ ดร. นพ. กระแส ชนะวงศ์ เจ้าของรางวัลรามอนแมกไซไซ สาขาผู้นำชุมชน ผู้รับใบอนุญาตจัดตั้งวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย ท่านมีความมุ่งมั่นที่จะขยายโอกาสทางการศึกษา และสร้างทางเลือกใหม่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ที่จะเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในสถาบันอุดมศึกษาใกล้บ้าน ตามนโยบาย “มหาวิทยาลัยใกล้บ้าน” ของท่านศาสตราจารย์ ดร.นพ.กระแส ชนะวงศ์ จึงกำหนดโครงการจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชน สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2535 ซึ่งคณะกรรมการสถาบันอุดมศึกษาเอกชนได้ประชุมและอนุมัติให้จัดตั้งวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย โดยนำเสนอความเห็นต่อ ฯพณฯ นายประจวบ ไชยสาส์น รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยในขณะนั้น ให้ออกใบอนุญาตจัดตั้งวิทยาลัยตามประกาศที่ 3/2542 ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2542 มีสถานที่ตั้งอยู่เลขที่ 28/9 ถนนรามราช อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น           คณะกรรมการสภาวิทยาลัยบัณฑิตเอเชียมีมติในการประชุมกรรมการสภาวิทยาลัย ครั้งที่ 1/2543 เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2543 ให้ย้ายสถานที่ตั้งวิทยาลัยบัณฑิตเอเชียจากอำเภอพล มายังสถานที่แห่งใหม่คือ เลขที่ 179/137 ถนนประชาสโมสร อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โดยได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในการประชุมครั้งที่ 2/44 เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2544

 

 

การบริหารจัดการวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย เป็นไปตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2535 และภายหลังจากที่กระทรวงศึกษาธิการได้ปรับโครงสร้างแล้ว รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2546 มาใช้บังคับ ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวมีสภาวิทยาลัยบัณฑิตเอเชียเป็นองค์กรสูงสุดในการบริหารงาน ปรัชญา วิสัยทัศน์ดี (Visionary) มีวินัย (Discipline) ใฝ่ใจวิทยบูรณาการ (Integrity) วิสัยทัศน์ เป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งคุณภาพ (Quality First) และได้มาตรฐานสากล (Universal Standard) พร้อมประสานสัมพันธ์กับนานาชาติ (Internationalization) โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศในเอเชีย เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สัมคม เทคโนโลยีและวัฒนธรรม ปณิธาน มุ่งมั่นที่จะผลิตบัณฑิตที่เรียนรู้ตลอดชีวิต มีจิตใจสาธารณ รู้จักรับใช้สังคม เพรียบพร้อมด้วยจริยธรรม วินัย และภาวะผู้นำ พันธกิจ ผลิตบัณฑิตเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานและสังคม ทำวิจัยเพื่อขยายองค์ความรู้ในศาสตร์สาขาที่วิทยาลัยเปิดสอนและประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหา ให้บริการทางวิชาการแก่สังคมและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นและประเทศชาติ

 

เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ เป้าหมายด้านการผลิตบัณฑิต มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะพึงประสงค์ มีคุณธรรมนำความรู้ ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานทั้งในระดับท้องถิ่นและสากล โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

เป้าหมายด้านการวิจัย ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้ ด้านการจัดการการเรียนการสอน และการพัฒนาสังคมและท้องถิ่น อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

เป้าหมายด้านการบริการวิชาการแก่สังคม สนับสนุนการให้บริการวิชาการที่หลากหลาย เพื่อถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีสู่สังคม เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และก่อให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้

เป้าหมายด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย สนับสนุนการเรียนรู้และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านและภูมิปัญญาไทย และมีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับต่างประเทศ

เป้าหมายด้านการบริหารจัดการ เร่งรัดพัฒนาปรับปรุงระบบการบริหารจัดการ และระบบส่วนงานต่างๆ ที่จำเป็นต่อกระบวนการศึกษา ให้มีความทันสมัย มีประสิทธิภาพสูงและมีธรรมาภิบาล

 

ยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์ด้านการผลิตบัณฑิต

1. การพัฒนาหลักสูตรให้มีความทันสมัย และสอดคล้องกับความต้องการของตลาด แรงงาน

2. การพัฒนาคณาจารย์ผู้สอน ให้มีความรู้ ความสามารถในการสอน และการสร้างผลงานทางวิชาการอย่างเป็นระบบ และต่อเนื่องสม่ำเสมอ

3. การพัฒนาศักยภาพนักศึกษา เพื่อสร้างเสริมให้มีคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ในทุกๆ ด้าน โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

4. การพัฒนาการเรียนการสอนในทุกด้านอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยเน้นที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ

5. การพัฒนาระบบสนับสนุนการเรียนรู้ อาทิ ห้องสมุด เทคโนโลยีสารสนเทศ ห้องปฏิบัติการให้มีความทันสมัยและพอเพียงกับความต้องการ

 

 

ยุทธศาสตร์ด้านการวิจัย

1. การสร้างและพัฒนานักวิจัยอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

2. การพัฒนาระบบบริหารจัดการการวิจัยให้มีประสิทธิภาพ

3. ส่งเสริมระบบจูงใจในการทำวิจัยโดยสรรหาแหล่งทุนสนับสนุนการวิจัยทั้งภายในและภายนอก

4. เร่งรัดการผลิตและพัฒนาผลงานวิจัย

5. ส่งเสริมและสนับสนุนการเผยแพร่ผลการวิจัย และนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์

 

ยุทธศาสตร์ด้านการบริการวิชาการแก่สังคม

1. สนับสนุนและส่งเสริมการบริการวิชาการที่หลากหลายแก่สังคม

2. กระตุ้นและส่งเสริมสังคมให้เกิดการเรียนรู้ และบริหารจัดการองค์ความรู้อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง เพื่อให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ (Learning Society)

3. แสวงหาแหล่งลงทุน และสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับองค์กรต่างๆ ทั้งใน และต่างประเทศเพื่อพัฒนาและเสริมสร้างการให้บริการวิชาการตามความต้องการของชุมชน และท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง

 

ยุทธศาสตร์ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย

1. สนับสนุนและส่งเสริมการฟื้นฟูและเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านและภูมิปัญญาไทย

2. เสริมสร้างจิตสำนึกให้นักศึกษาและประชาชนเกิดความรัก ความภาคภูมิใจ ความหวงแหน และรักษาไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรมไทย

3. ส่งเสริมการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทยและภูมิปัญญาไทย และสนับสนุนการแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมกับต่างประเทศ

 

ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการ

1. พัฒนาระบบและกลไกในการประเมินเพื่อปรับปรุงการบริหารจัดการให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพ

2. พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการในองค์กร ด้วยข้อมูลที่ถูกต้องและทันสมัย

3. ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการของบุคลากรทุกระดับ

4. เสริมสร้างวัฒนธรรม และค่านิยมในการทำงานที่เน้นการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง และเกื้อกูลต่อการบริหารจัดการแบบธรรมาภิบาล

5. เร่งรัดและพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล