ทบทวนกฎหมายคอมพิวเตอร์กันหน่อย

 มาถึงในยุคปัจจุบันที่อินเตอร์เนตแทบจะฝังติดกับฝ่ามือของทุกคนไปแล้ว นั่นทำให้สังคมหน้าจอเริ่มโตขึ้นมีความร้อยพ่อพันแม่มากขึ้นมากกว่าสมัยก่อน(ที่ดูจะสงบกว่านี้มาก)จากเดิมที่ก็วุ่นวายอยู่แล้วก็ยิ่งปั่นป่วนหนักมากขึ้นทุกวันเพราะมีผู้ใช้มากขึ้นแบบพรวดพราดจากการมาของ 3G นั่นเอง ที่สุดแล้วก็หนีความจริงไม่ได้ที่ว่า ยังไงการพ่นข้อความอะไรก็ตามลงบนหน้าจอนั้นจริงๆมันก็คือการประกาศ พูดคุยกันจริงๆนั่นเองเพียงแต่ไม่ได้เจอหน้ากันจริงๆก็เท่านั้น โลกหน้าจอเริ่มไม่ต่างจากโลกจริงๆแล้วในวันที่โพสต์ทุกโพสต์ คอมเมนท์ทุกคำส่งผลต่ออารมณ๋ ความคิด การกระทำหรือแม้แต่ความเสียหายต่อชีวิตทรัพย์สิน 
       นั่นทำให้ต้องมีกฎหมายออกมาควบคุมสังคมนี้ แต่ในความคิดของผมแล้วที่จริงไม่ต้องมี พรบ.คอมพิวเตอร์ออกมาก็ได้ เพราะในความจริงคือการโพสต์อะไรสักอย่างในเว็บโซเชียลมันก็ไม่ต่างจากการเที่ยวเดินไปพูดป่าวประกาศให้ชาวบ้านรับรู้สิ่งที่จะต่องการบอกนั่นเอง หรือไม่ต่างจากการเขียนข้อความนั้นลงกระดาษไปแปะประกาศไว้ตามที่สาธารณะให้คนทั่วไปอ่านได้ ซึ่งถ้าข้อความนั้นไม่ว่าจากการพูดให้ใครๆได้ยินหรือแปะกระดาษ ถ้ามันส่งผลเสียหาย มันก็ผิดกฎหมายเต็มๆอยู่แล้ว แต่นี่แค่เปลี่ยนช่องทางสื่อสารมาเป็นบนหน้าจอเฉยๆไม่ได้ต่างอะไรจนถึงต้องออกกฎหมายเลย แต่ก็ที่ออกกฎหมายมาคงมองว่าประเทศเรายังหูเบาเชื่ออะไรง่ายกันอยู่มั้ง(รวมถึงพวกอ่านหนังสือไม่เกินครึ่งบรรทัดด้วย) หากมีปัญหากันจริงๆจะได้ดำเนินคดีกันง่ายขึ้นโดยมีกฎหมายใช้อ้างอิง ประมาณนี้ล่ะมั้ง
 



      มาดูกันครับว่ามีอะไรบ้างที่น่าสนใจและใกล้ตัวคนทั่วไปอย่างเราๆท่านๆบ้าง เริ่มจากการเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตแปลว่า ถ้าเราเห็นคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์วางไว้แล้วเราไปใช้ เนี่ยผิด   รวมถึงการล็อคอินเข้าไปในบัญชีของผู้อื่นก็ ผิด  จำคุกไม่เกิน 6 เดือน
        การคัดลอกไฟล์ที่มีเจ้าของ มีลิขสิทธิ์ ใช่ครับ...ผมหมายถึงทุกอย่าง ไม่ว่าจะเสียบแฟลชไดฟ์กันตรงๆหรือดาวน์โหลดจากอินเตอร๋เนตที่หมายรวมถึง เพลง หนัง ซอฟต์แวร์ รูปภาพ ทุกอย่างที่เป็นของซื้อของขายถ้คัดลอกมาได้ก็เข้าข่ายผิดทั้งหมด ข้อหานี้โทษหนักจำคุกไม่เกิน 3 ปี
       ส่วนข้อต่อมานี้ยังคงคลุมเครือนิดๆ ก็คือ การห้ามมีไฟล์ที่มีเนื้อหาลามกเกี่ยวกับเด็ก ซึ่งทุกวันนี้ก็ยังถกเถียงกันอยู่ว่ามีเขตขอบเอาผิดอย่างไร รูปภาพแบบไหนที่เข้าข่าย และอะไรคือการครอบครองซึ่งในบางคนอาจจะมีในเครื่องตัวเองแต่ไม่ได้เผยแพร่ หรือได้มาแบบอาจจะไม่รู้ตัวผ่านการดาวน์โหลดจากอินเตอร์เนตที่ไม่ได้ตั้งใจ ตรงนี้ยังคงสงสัยกันอยู่ในประเด็นการมุ่งเอาผิดกับผู้บริโภคฝ่ายเดียว ซึ่งโทษก็หนักซะด้วยคือ จำคุกไม่เกิน 6 ปีเลยทีเดียว
 
















วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย
สถาบันในเครือ
เป็นสถาบันด้านการศึกษาและมูลนิธิ ศ.ดร.นพ.กระแส ชนะวงศ์ ก่อตั้งขึั้น สำหรับบริการด้านการเรียน ทั้งระดับประถม มัธยม และอุดมศึกษา รวมไปถึงศูนย์ฝึกอบรม ด้านการศึกษา มูลนิธิหมอกระแส ชนะวงศ์และสถาบันกระแสภิวัฒน์ เพื่อเป็นแหล่งเรียนแก่คนรุ่นหลัง