อะไรคือคลื่นความโน้มถ่วง

สถานบัน MIT และโครงการ LIGO ได้ประกาศการค้นพบที่ถือว่ายิ่งใหญ่ที่สุดในรอบ 100 ปีก็คือ "คลื่นความโน้มถ่วง" ซึ่งสื่อในบ้านเราก็นำเสนอกันอย่างครึกโครมด้วยแต่ก็พยายามนำเสนอในอะไรที่ทำให้ผู้ชมทั่วไปเข้าใจได้ง่ายๆในเรื่องที่เข้าใจยากนี้ ถึงตรงนี้แล้วในฐานะที่ผู้เขียนเป็นคนหนึ่งที่สนใจศึกษาเรื่้องพวกนี้อยู่แล้วจะขอสรุปให้เข้าใจ(หรืออาจจะงงยิ่งขึ้น)กันอีกครั้ง  ก่อนอื่นขออธิบายทฤษฎีสัมพัทธภาพของ ดร.ไอร์สไตน์ให้ทราบคร่าวๆก่อนว่า 
             อวกาศในแต่ละพื้นที่ไม่ใช่ที่ว่างเปล่าเรียบๆแต่เต็มไปด้วยความบิดโค้งงอที่เกิดจากวัตถุมวลมากที่อยู่บริเวณนั้นๆ เป็นสาเหตุให้เกิดความโน้มถ่วงให้วัตถุที่อยู่โดยรอบให้มีแนวโน้มจะเคลื่อนเข้าหาหรือเคลื่อนที่วนรอบกันและกัน นี่คือคำอธิบายว่าทำไมโลกถึงโคจรรอบดวงอาทิตย์ แต่อย่างไรตามทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของเซอร์ไอแซค นิวตันยังคงถูกต้อง เพียงแต่จากนี้เราคงจะไม่ได้เรียกแรงโน้มถ่วงว่า "แรง" แต่เราใช้คำว่า "ความโน้มถ่วง" เพราะการค้นพบนี้ทำให้เราคิดว่าการดึงดูดที่เกิดขึ้นไม่ได้มาจากแรงๆใดมากระทำ แต่เป็นเพราะการบิดโค้งงอพื้นที่อวกาศใกล้วัตถุมวลมาก
 


          ทีนี้คลื่นความโน้มถ่วงที่ว่านี้คืออะไร ผมจะพยายามอธิบายให้เข้าใจง่ายที่สุดแต่ผู้อ่านก็ต้องเข้าใจย่อหน้าก่อนหน้านี้ด้วยที่บอกว่าพื้นที่ในอากาศนั้นบิดโค้งงอได้   
          โอเค เริ่ม....จริงๆแล้วคลื่นความโน้มุถ่วงก็คือการกระเพื่อมของพื้นที่อวกาศที่มีพฤติกรรมคล้ายลูกคลื่น ก็คือมันกระเพื่อมขึ้นลงเป็นระลอกแล้วแผ่ออกไปจากแหล่งกำเนิดเหมือนการปาหินลงน้ำ หรือพูดง่ายๆคือพื้นที่อวกาศมันยับย่นได้ เมื่อลูกคลื่นแผ่ออกและเดินทางไปถึงจุดใดในอวกาศ จุดนั้นก็จะยืดหดหรือยับย่นตามไปด้วย แต่เนื่องจากคลื่นความโน้มถ่วงนี้ไม่ได้เกิดขึ่นบ่อยและมักเกิดจากที่ห่างไกลจากโลกมาก คลื่นที่เพิ่งเดินทางมาถึงนี้จึงอ่อนแรงมากๆ จนเครื่องมือตรวจจับก่อนหน้านี้ไม่ละเอียดพอที่จะมองเห็นมัน จนกระทั่งโครงการ LIGO พัฒนาเครื่องตรวจจับที่ประสิทธิภาพสูงขึ้นจนสามารถตรวจจับคลื่นความโน้มถ่วงอันเบาบางนี้ได้ในอีก 100 ปีต่อมานับตั้งแต่ ดร.ไอร์สไตน์เสนอทฤษฎีนี้เมื่อปี 1916
 

 
 



         แต่คลื่นความโน้มถ่วงอันแสนอ่อนแรงที่เราพอจะตรวจจับได้นี้ มันต้องเกิดจากกิจกรรมที่ต้องรุนแรงมากๆในอวกาศเท่านั้น ในกรณีนี้คือการรวมตัวกันของหลุมดำสองหลุมขนาดใหญ่ที่เคลือนที่เข้าหากันด้วยความเร็วสูงมาก ถึงกระนั้นคลื่นที่ตรวจจับได้ก็ยังนับว่าอ่อนแรงมากเนื่องด้วยระยะทางที่ห่างไกลมาก แต่ใครจะรู้ว่าจริงๆแล้วเมื่อคลื่นนี้เดินทางมากระทบโลก ขนาดของโลกได้มีการยืดหดเล็กน้อยด้วยตามความยับย่นของอวกาศที่เกิดจากคลื่นความโน้มถ่วงนี้ และความเล็กน้อยนี้เองที่ LIGO ตรวจจับได้และยืนยันการมีอยู่ของคลื่นความโน้มถ่วงพร้อมกับยืนยันความถูกต้องทุกประการของทฤษฎีสัมพัทธภาพของ ดร.ไอรส์ไตน์ อีกด้วย


        คำถามต่อมาคือ เราได้ประโยชน์อะไรจากความรู้นี้ ?  ในเชิงประโยชน์ด้านวิทยาการนี่ยังไม่ใช่ตอนนี้ แต่ในเชิงฟิสิกส์ดาราศาสตร์รับเต็มๆของโอกาสในการทราบถึงการกำเนิดเอกภพโดยศึกษาข้อมูลที่ติดมากับคลื่นความโน้มถ่วงที่มีคุณสมบัติเดินทางผ่านอวกาศได้เป็นระยะทางไกลๆ ไปในถึงได้ในทุกพื่้นที่ของจักรวาล และมันเป็นจุดเริ่มต้นการเข้าใจการทำงานของอวกาศ กาลอวกาศ การควบคุมความโค้งของอวกาศและเวลา หรือการใช้ประโยชน์จากหลุมดำ นำมาซึ่งการสร้างวิทยาการเดินทางข้ามเวลาได้ในอนาคต  นั่นคือเหตุผลว่าทำไมนักวิทยาศาสตร์จึงให้ความสำคัญการค้นพบนี้
















วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย
สถาบันในเครือ
เป็นสถาบันด้านการศึกษาและมูลนิธิ ศ.ดร.นพ.กระแส ชนะวงศ์ ก่อตั้งขึั้น สำหรับบริการด้านการเรียน ทั้งระดับประถม มัธยม และอุดมศึกษา รวมไปถึงศูนย์ฝึกอบรม ด้านการศึกษา มูลนิธิหมอกระแส ชนะวงศ์และสถาบันกระแสภิวัฒน์ เพื่อเป็นแหล่งเรียนแก่คนรุ่นหลัง