ระบบสุริยะมีดาวเคราะห์ลดเหลือ 8 ดวง

    นับเป็นการเปลี่ยนเนื้อหาในบทเรียนวิชา สปช หรือวิชาวิทยาศาสตร์ในส่วนของดาราศาสตร์ใหม่ ซึ่งนับเป็นครั้งใหญ่พอสมควร เมื่อสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล มีมติในที่ประชุมให้ลดฐานะของดาวพลูโตดาวเคราะห์วงนอกสุดดวงที่ 9 ของระบบสุริยะให้อยู่ในหมวดหมู่ของดาวชนิดใหม่คือ "ดาวเคราะห์แคระ" (dwarf planet) เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2549 หลังจากถกเถียงกันมานานหลายปีนับตั้งแต่ค้นพบดาวเคราะห์ดวงที่ 10 ถัดจากดาวพลูโตที่มีชื่อว่า"เอริส" แต่ทำไมการค้นพบเอริส ถึงเป็นการลดระดับชั้นของดาวเคราะห์ดวงที่ 9 ของระบบสุริยะได้ บทความนีั้มีคำตอบ
 
ภาพแสดงตำแหน่งของดาวเคราะห์แคระและแถบไคเปอร์
 
    ชนิดของดาวที่มีในตอนนี้ก็คือ ดาวกฤษ์ ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์น้อย และดาวหาง
 
   ทั้ง 4 ชนิดนี้คือสิ่งที่เรามีในบทเรียนวิชาดาราศาสตร์เดิม จนกระทั่งมีการค้นพบดาวเคราะห์ดวงใหม่ที่อยู่ถัดจากดาวพลูโต นับเป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 10 ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2,400 กิโลเมตรซึ่งใหญ่กว่าพลูโตและยังมีดาวบริวาร 1 ดวงด้วย โดยตั้งชื่อว่า "เอริส" และจะว่าไปแล้วด้วยขนาดเพียงเท่านี้จัดว่าเล็กมากๆ เมื่อเทียบกับดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ซึ่งเล็กกว่าดวงจันทร์ของโลกเราเสียอีก หลังจากค้นพบเอริสก็ทำให้สหพันธ์ดาราศาสตร์สากลเห็นว่ามันมีลักษณะเดียวกับพลูโต และน่าจะจัดเป็นดาวชนิดใหม่ได้เพราะคุณสมบัติมันค่อนข้างต่างจากดาวเคราะห์ปกติพอสมควร โดยก็การจัดเป็นดาวเคราะห์แคระ (dwarf planet) นั้นก็ต้องมีคุณสมบัติเบื้องต้นดังนี้
 
  1.มีมวลมากพอที่จะจับเป็นทรงกลมและมีแรงดึงดูด
  2.โคจรรอบดาวกฤษ์ในเส้นทางที่แน่นอน
  3.ไม่มีแรงดึงดูดมากพอที่่จะควบคุมวัตถุรอบข้างได้
 
 ซึ้งทั้งหมดนี้ถือเป็นคุณสมบัติที่สูงกว่าดาวหางและดาวเคราะห์น้อยอย่างชัดเจน จึงทำให้มีการยกระดับดาวเคราะห์น้อยทรงกลมขนาด 950 กิโลเมตรชื่อ "ซีริส" ที่เป็นวัตถุทรงกลมเดียวที่ค้นพบในแถบดาวเคราะห์น้อยระหว่างวงโคจรดาวอังคารและดาวพฤหัสบดี ขึ้นมาร่วมชนิดเดียวกับพลูโตและเอริสเป็นดาวเคราะห์แคระ และขณะนี้ ซีริส ยังเป็นดาวเคราะห์แคระดวงเดียวที่อยู่ในระบบสุริยะชั้นใน
 
ภาพจริงของดาวซีริส
 
 
 
 
   ปัจจุบันเราค้นพบดาวเคราะห์แคระนอกจาก พลูโต, เอริสและซีริสแล้วอีกอย่างน้อย 2 ดวงคือ "เฮาเมอา" และ "มาคีมาคี" ซึ่งทั้ง 5 ดวงนี้มีเพียง ซีริส ดวงเดียวที่อยู่ในระบบสุริยะชั้นใน ส่วนที่เหลืออีก 4 ดวงล้วนอยู่ไกลออกไปถัดจากวงโคจรดาวเนปจูนทั้งสิ้น โดยเฉพาะ เฮาเมอากับมาคีมาคี นี้ถูกค้นพบอยู่ในอาณาเขตของ"แถบไคเปอร์" ซึ่งเป็นอาณาบริเวณกว้างที่อยู่รอบนอกระบบสุริยะที่เป็นศูนย์รวมของเศษฝุ่น น้ำแข็งจำนวนากรวมถึงดาวหางมากมาย ขณะนี้ยาน New Horizon ของ NASA อยู่ในเส้นทางสู่แถบไคเปอร์ มีกำหนดผ่านวงโคจรดาวพลูโตในปี 2015 โดยมีภารกิจหลักคือสำรวจดาวพลูโตอย่างใกล้ชิดเป็นครั้งแรกรวมถึงอาณาเขตรอบนอกระบบสุริยะ ซึ่งเป็นไปได้ว่าอาจจะมีการค้นพบดาวเคราะห์แคระหรือแม้แต่ดาวเคราะห์เพิ่มเติมอีก















วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย
สถาบันในเครือ
เป็นสถาบันด้านการศึกษาและมูลนิธิ ศ.ดร.นพ.กระแส ชนะวงศ์ ก่อตั้งขึั้น สำหรับบริการด้านการเรียน ทั้งระดับประถม มัธยม และอุดมศึกษา รวมไปถึงศูนย์ฝึกอบรม ด้านการศึกษา มูลนิธิหมอกระแส ชนะวงศ์และสถาบันกระแสภิวัฒน์ เพื่อเป็นแหล่งเรียนแก่คนรุ่นหลัง