กิจกรรม 5 ส    %E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%205%20%E0%B8%AA

ความหมายของ 5ส.

1.สะสาง แยกของที่จำเป็นและไม่จำเป็นในการทำงานให้ออกจากกัน
   
และขจัดที่ไม่จำเป็นออกไป
2.สะดวก  จัดของให้เป็นระเบียบสะดวกในการใช้งานโดยคำนึงถึงคุณภาพ
    ประสิทธิภาพ และความปลอดภัย

3.สะอาด ทำความสะอาดสถานที่ อุปกรณ์ และเครื่องใช้ เพื่อทำให้สิ่งแวดล้อมในการทำงานดีขึ้น
    และขจัดต้นเหตุแห่งความสกปรก ซึ่งเป็นก้าวแรกของการบำรุงรักษา

4.สุขลักษณะ  รักษาสภาพและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดสุขลักษณะที่ดีและคงสภาพของความสะอาดอยู่อย่างเดิม
5. สร้างนิสัยผู้ปฏิบัติงานทุกคนร่วมกันกำหนดกฎระเบียบ  และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

 

หลักการและเหตุผล

เนื่องจากความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยในโรงงานและสถานที่ทำงานเป็นพื้นฐาน
ของการทำงานและเป็นพื้นฐานของความปลอดภัย ความสะอาด การจัดวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ
ให้เป็นระเบียบ และสะดวกต่อการใช้งาน จะเป็นตัวช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
และจะส่งผลให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานด้วยความระมัดระวังเพิ่มมากขึ้นด้วย  การทำความสะอาด
และการจัดระเบียบในโรงงาน หรือสถานที่ทำงานโดยใช้หลักการ 5 ส  เป็นวิธีการอย่างหนึ่ง
ที่สามารถทำให้ที่ทำงานที่ทำงานที่สกปรกอยู่ในสภาพที่เสื่อมโทรม ได้รับการปรับปรุงในเวลาอันรวดเร็ว ผลที่ได้รับคือ

  1. ขจัดความสิ้นเปลืองของทรัพยากร และความสิ้นเปลืองของวัสดุ ของการใช้พื้นที่ ตัวอย่างเช่น จากการจัดระเบียบเครื่องมือ,วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ในโรงงานทำให้รู้ว่ามีจำนวนของที่จะใช้งานอยู่บริเวณไหน?และในปริมาณเท่าใด?
  2. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
  3. ขจัดปัญหาคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพ ตัวอย่าง เช่น การตรวจเช็คด้วยการทำความสะอาดเครื่องจักรใน Line Productionทำให้พบข้อพร่องที่สามารถแก้ไขได้ทันทีโอกาสของเสียก็มีน้อย
  4. ขจัดปัญหาเครื่องจักรเสียบ่อย เพราะเป็นผลพลอยได้จากการเช็ดถูประจำ ทำให้พบจุดบกพร่องของเครื่องจักรที่เกิดขึ้น
  5. ความปลอดภัยในการทำงานเพิ่มมากขึ้น

ฉะนั้นจะเห็นว่า โรงงานหรือสถานที่ทำงานที่อยู่ในชั้นมาตรฐานนั้น ส่วนหนึ่งจะต้องสะอาดและมีความเป็นระเบียบ หลักการ 5 ส  จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะต้องกระทำอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่การทำให้โรงงานและสถานที่ทำงานอยู่ในระดับมาตรฐานต่อไป

วัตถุประสงค์

1.นำหลักการ 5 ส  มาปรับปรุงเรื่องความสะอาดและความเป็นระเบียบของโรงงานและสถานที่ทำงาน

2.เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

3.เพื่อเป็นการป้องกันอุบัติเหตุ โดยการขจัดสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัยให้หมดไป

เป้าหมาย

เพื่อให้ทุกแผนกดำเนินการตามหลักการ 5 ส  ภายในแนวการดำเนินการ 5 ส

  1. ประกาศนโยบาย

-ผู้บังคับบัญชาสูงสุดประกาศนโยบายในการดำเนินการ 5 ส  อย่างชัดเจน

-เวียนหรือแจ้งนโยบายให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนในหน่วยงานทราบ

       2.ประชาสัมพันธ์

-ชี้แจงและประชาสัมพันธ์ให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนทราบว่าจะมีการดำเนินการ 5 ส อย่างจริงจัง โดย

-ติดโปสเตอร์

-คำขวัญ 5 ส

-ติดแผ่นพับ

-ลงข่าวสัปดาห์ กฟผ.

-ดูงาน

-อื่น ๆ

      3.เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ

-จัดหลักสูตรอบรม 5 ส  เพื่อเสริมสร้างและปลูกฝัง แนวความคิด 5 ส ให้กับผู้ปฏิบัติงานอย่างน้อย 80 %ขึ้นไป  เพื่อให้มีแนวทางปฏิบัติที่เป็นรูปแบบเดียวกัน

      4.แต่งตั้งคณะกรรมการ 5 ส

-อนุ คคภ. หรือ ผบ. สูงสุดประจำหน่วยงานคัดเลือก คณะกรรมการ 5 ส

-ประธานอนุ คคภ. หรือ ประธาน คคภ. หรือ ผบ. สูงสุดประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการ 5 ส และมอบหมายภาระหน้าที่

     5. ส 1สะสาง

-ประกาศช่วงเวลาการทำ ส 1 (อาจเป็นวัน สัปดาห์ หรือเดือน) โดยการประชาสัมพันธ์ให้ทราบทั่วกัน

-ผู้ปฏิบัติงานรับป้ายแดงจากคณะกรรมการ 5 ส

-ผู้ปฏิบัติงานติดป้ายแดง พร้อมส่งรายละเอียดการติดคณะกรรมการ 5 ส ทราบเพื่อลงทะเบียน

-คณะกรรมการตรวจสอบ ถ่ายรูป และให้คะแนน

-ผู้ปฏิบัติงานเริ่ม สะสาง ตามขั้นตอน ป้ายแดงที่มี ปัญหาซึ่งไม่สามารถสะสางได้ หรือไม่เสร็จภายในเวลาที่กำหนดต้องสามารถแสดงเหตุผลให้คณะกรรมการเข้าใจได้

-คณะกรรมการ 5 ส ตรวจสอบ ถ่ายรูป ให้คะแนน

     6. ส  2 สะดวก

-ประกาศช่วงเวลาการทำ ส 2

-ผู้ปฏิบัติงานเริ่มดำเนินการจัดสะดวก

-คณะกรรมการ 5 ส ให้คำแนะนำเพิ่มเติม

-เมื่อดำเนินการจัดสะดวกแล้ว คณะกรรมการ 5 ส ถ่ายรูปและให้คะแนน

หมายเหตุ การประกาศช่วงเวลาการทำ  ส 1  และ  ส 2  อาจกระทำไปพร้อม ๆ กันได้

      7.  ส 3 สะอาด

-ประกาศวันแห่ง ส 3

-ผู้ปฏิบัติงานทุกระดับร่วมมือกันทำความสะอาดอย่างจริงจัง

-แบ่งเขตความรับผิดชอบ จัดผู้รับผิดชอบ จัดเวรรับผิดชอบ

ทำความสะอาดสิ่งต่างๆ ตลอดไป

-ให้รักษามาตรฐานความสะอาดไว้ให้ได้ ถ้ามาตรฐานตกให้คณะกรรมการประกาศวันทำความสะอาดอีก

-คณะกรรมการตรวจสอบ ถ่ายรูป และให้คะแนน

     8.  ส  4 สุขลักษณะ

-คณะกรรมการตรวจสอบการทำและการรักษาสภาพของ   ส1 ส2 ส3

-คณะกรรมการให้คะแนน และถ่ายรูปเพิ่มเติม

      9. ส  5  สร้างนิสัย

-คณะกรรมการตรวจสอบว่ามีการสร้างมาตรฐานในการทำงาน และถือปฏิบัติร่วมกันหรือไม่

-คณะกรรมการให้คะแนน  และถ่ายรูปเพิ่มเติม

     10.  สรุปและประเมินผล

-รวบรวมคะแนน  และให้รางวัลหน่วยงานที่ทำกิจกรรม 5 ส ดีเด่น  เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจ

-สรุปและประเมินผลกิจกรรมว่าได้บรรลุเป้าหมาย  และวัตถุประสงค์มากน้อยเพียงใด

-ทบทวนและเรียบเรียงกิจกรรมตั้งแต่ ข้อ 1-10 ใหม่เรื่อยๆ 

 หน้าที่ของคณะกรรกมาร  5  ส

  1. จัดหาป้ายแดง
  2. ลงทะเบียนป้ายแดง
  3. ตรวจสอบ-ถ่ายรูป-ให้คะแนน
  4. เป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำ
  5. ร่วมกำหนดสถานที่จัดเก็บอุปกรณ์ เครื่องมือที่สะสางแล้วตลอดจนการถขนย้ายหรืออื่น ๆ
  6. การตรวจสอบป้ายแดง ให้พิจารณาว่าติดป้ายแดงได้ครบถ้วนเหมาะสมหรือไม่  พร้อมให้คำแนะนำกรณีที่ติดป้ายแดงเพิ่มเติม
  7. การให้คะแนนควรพิจารณา  ดังนี้

-ผู้ปฏิบัติงานทุกคนทราบนโยบายหรือไม่

-ติดป้ายแดงถูกต้องเหมาะสมหรือไม่

-ควรกำหนดคะแนนของการปลด-ติดป้ายแดง เช่น คะแนนเต็ม 100 คะแนน ถ้าต้องติดป้ายแดงเพิ่มให้ ตัด คะแนน 10 คะแนน หรือถ้าติดป้ายแดงมากเกินไป ถ้าก็ให้ตัดป้ายละ 10 คะแนน เป็นต้น

-การประชาสัมพันธ์ในแต่ละหน่วยงาน

          8.กรณีที่คณะกรรมการ 5 ส.  ไม่สามารถตัดสินปัญหาใด ๆได้ให้นำเสนอ  ผู้บังคับบัญชา

          9.พิจารณารวมคะแนน  สรุปผลการประกวด สรุปและประเมิน ผลการทำกิจกรรม 5ส นำเสนอผู้บังคับบัญชา

 

 

 

 

 

;'